การรับจ้างผลิต หรือ OEM คืออะไร?

Last updated: 8 ก.ย. 2565  |  20253 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การรับจ้างผลิต หรือ OEM คืออะไร?

การจ้างผลิต

   ในโลกธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง การจะนำผลิตภัณฑ์หรือสินค้าใด ๆ เข้าสู่ตลาดจำเป็นต้องรวดเร็ว เพื่อช่วงชิงความได้เปรียบทางธุรกิจ มีคำกล่าวหนึ่งในทางธุรกิจกล่าวไว้ว่า “Amateurs talk strategy. Professionals talk logistics” ซึ่งหมายถึงการเป็นมืออาชีพในทางธุรกิจอย่างแท้จริง ควรมุ่งความสนใจไปที่ระบบการขนส่งหรือระบบการดำเนินงาน ทั้งนี้ขั้นตอนต้นๆ ก่อนถึง Logistic นั้นก็คือขั้นตอนการผลิตส่วนที่เรียกว่าห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) เป็นการเกี่ยวข้องระหว่างบริษัทและคู่ค้าของบริษัทในการผลิตและส่งมอบสินค้า ที่แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนของการได้มาซึ่งสินค้าตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง ไปจนถึงการส่งมอบสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้า ดังนั้น บริษัทผู้ผลิตในประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเครือข่ายที่มีนวัตกรรมระดับโลก ผู้ผลิตเหล่านั้นไม่เพียงแต่ทำหน้าที่ผลิตและจัดจำหน่ายทางกายภาพเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่ออกแบบ วิจัยและทดลอง อีกทั้งต้องนำเสนอกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่  ๆ ออกสู่ตลาด

   ดังนั้นจึงควรศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การผลิตของผู้รับจ้างผลิต (OEM) และความคล่องตัวของนวัตกรรมเครือข่าย (การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์) อีกทั้งไม่มีกลยุทธ์ใดที่เหมาะสมกับผู้รับจ้างผลิตทุกราย แต่สามารถเลือกที่จะเป็นผู้ให้บริการรับจ้างผลิตหรืออาจขายผลิตภัณฑ์ในนามแบรนด์ของตนเอง ทั้งสองกลยุทธ์สามารถเสริมสร้างประสิทธิภาพในแง่ของความคล่องตัวของนวัตกรรม อย่างไรก็ตามเมื่อเลือกกลยุทธ์การผลิตแบบ OEM แล้ว ผู้รับจ้างผลิตควรใช้วิธีที่เหมาะสมในการจัดการกระบวนการสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ของตน ผู้ที่รับจ้างผลิตโดยตรงควรเน้นที่ความยืดหยุ่นในการผลิตและดำเนินกลยุทธ์โมดูลผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มความคล่องตัวของนวัตกรรมเครือข่าย ในขณะที่การรวมข้ามสายงานเป็นกุญแจสำคัญสำหรับผู้รับผลิตที่ประสบความสำเร็จด้วยผลิตภัณฑ์แบรนด์ของตัวเอง และสำหรับผู้รับจ้างผลิตที่มีแบรนด์เป็นของตัวเอง การวางแนวการตลาดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความคล่องตัวของนวัตกรรมเครือข่าย จึงควรมีการศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการและทิศทางการวิจัยในอนาคต และบทความนี้เราจะเน้นถึงส่วนการผลิต

   ปัจจุบันสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในตลาดจะมี แบรนด์ ต่าง ๆ มากมายระยะเวลาสั้น มีทั้ง แบรนด์ เล็ก ๆ และ แบรนด์ ขนาดใหญ่ที่มีโรงงานผลิตเป็นของตนเอง และไม่มีโรงงานผลิตเป็นของตนเอง  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปัจจุบัน ผู้ประกอบการมักเลือกใช้การจ้างผลิตสินค้าแทนการดำเนินการผลิตสินค้าด้วยตนเองเนื่องจาก ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนในการซื้อเครื่องมือ เครื่องจักรในการผลิต รวมถึงการตั้งโรงงาน และสามารถนำเงินทุนดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เช่น การตลาดและประชาสัมพันธ์ ตลอดจนลดระยะเวลาในการผลิตและได้รับสินค้ามีคุณภาพ เนื่องจากผู้รับจ้างผลิตมีความเชี่ยวชาญในการผลิตสินค้านั้น ๆ อยู่แล้วและมีการผลิตเป็นประจำ และมีความคล่องตัวในการผลิตสินค้า เช่น สามารถเพิ่ม ลด หยุด หรือเปลี่ยนแปลงการผลิตสินค้าได้ตามเงื่อนไขที่ตกลงในสัญญา และสามารถเปลี่ยนกลยุทธ์การขายสินค้าให้ตรงตามความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็ว

ความสำคัญของการจ้างผลิต

   การจ้างผลิตจึงเป็นตัวช่วยให้เจ้าของแบรนด์สินค้านั้น  ๆ สามารถนำทุนและความสามารถที่มีอยู่ ไปใช้ในกิจกรรมที่ให้ผลตอบแทนจากการลงทุนสูงกว่าการตั้งโรงงานผลิต เช่น การทำการวิจัยและพัฒนา (R&D) หรือการออกแบบ (Design) รวมทั้งการดำเนินการด้านการตลาด ดังนั้นการใช้บริการจ้างผลิตจึงถือเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยลดต้นทุนในส่วนนี้ และช่วยลดความเสี่ยงในการเรื่องขั้นตอนการผลิต เนื่องจากผู้รับจ้างผลิตมีความรู้ ความเชี่ยวชาญการผลิตอยู่แล้ว  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเลือกผู้รับจ้างผลิตให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์หรือสินค้านั้นๆ และนั่นเป็นที่มาของโรงงานรับจ้างผลิต (Original Equipment Manufacturer) การอุตสาหกรรมสมัยใหม่ถ้าปราศจาก OEM จะเป็นอย่างไร โรงงาน OEM ให้ประโยชน์มากมายที่เราไม่ควรมองข้าม:

   1. ช่วยลดต้นทุนการผลิต

   2. ทำให้การแข่งขันราคาผ่านปริมาณสินค้า

   3. มีความเชี่ยวชาญและส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยี

ผู้รับจ้างผลิตคือ

ผู้รับจ้างผลิต หมายถึง บริษัท หรือโรงงานที่รับจ้างผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ หรือชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ ตามความต้องการของบริษัทหรือผู้ว่าจ้างหรือ แบรนด์ ต่าง  ๆ ทำให้ผู้คนทั่วไปสามารถมีสินค้าเป็นของตนเอง โดยใช้การผลิต การใช้เครื่องจักร การจ้างคนงาน จากทางโรงงาน ซึ่งบริษัทหรือโรงงานรับจ้างผลิตเหล่านี้ส่วนมากจะมีความเชี่ยวชาญด้านการผลิต บางแห่งก็มีความการออกแบบร่วมด้วย ดังนั้นจึงควรทำเข้าใจ ประเภทของผู้รับจ้างผลิต เพื่อที่ผู้จ้างผลิตจะได้ทำความเข้าใจว่าต้องการจ้างผลิตในลักษณะใด 

 
ประเภทของผู้รับจ้างผลิต

   1. OEM (Original Equipment Manufacturer) หมายถึง บริษัท หรือโรงงานที่รับจ้างผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์  เน้นการผลิตตามความต้องการของบริษัทหรือผู้ว่าจ้างหรือแบรนด์ต่าง ๆ ตามแบบที่ลูกค้ากำหนด แล้วติดชื่อแบรนด์ หรือ จะไม่ตีตราก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า โดยผู้ว่าจ้างเป็นคนออกแบบผลิตภัณฑ์ ส่วนโรงงานมีหน้าที่ผลิตตามแบบที่ได้รับมา และโรงงานจะดูแลตั้งแต่กระบวนการผลิตครอบคลุมไปถึงเครื่องจักรต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับผลิต ซึ่งทำให้ลูกค้าที่มาจ้างโรงงานผลิตนั้น ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก โดยไม่ต้องถึงขั้นจัดตั้งโรงงานหรือซื้อเครื่องจักรผลิตสินค้าเอง ทำให้ผู้จ้างผลิตมีความเสี่ยงน้อย ใช้เงินทุนในการผลิตไม่มาก ซึ่งผลตอบแทนที่ได้ถือว่าคุ้มค่า โรงงานประเภทนี้นั้นมักจะเป็นโรงงานเปิดใหม่  ๆ หรือโรงงานที่ไม่เน้นการสร้างแบรนด์ของตนเอง แต่เน้นการผลิตให้กับแบรนด์อื่น ๆ ที่ต้องการผลิตในจำนวนน้อย หรือไม่มีโรงงานเป็นของตนเองนั่นเอง อาจกล่าวได้ว่า OEM มีหน้าที่ผลิตสินค้าเพียงอย่างเดียว ส่วนการออกแบบสินค้า การวิจัยทางการตลาด การตลาด การทดสอบผลิตภัณฑ์เป็นหน้าที่ของลูกค้า

ข้อดีของโรงงาน OEM

   1. ช่วยลดต้นทุนการผลิตต่ำ

   2. เจ้าของแบรนด์ไม่จำเป็นจะต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง

   3. ทำให้ง่ายต่อการเปลี่ยนลักษณะหรือกลยุทธ์ทางธุรกิจ

   4. มีผู้เชี่ยวชาญพร้อมที่ปรึกษาทางการผลิตคอยดูแล

   5. สามารถย้ายฐานการผลิตไปประเทศที่ต้นทุนต่ำกว่าได้ตลอด

ข้อเสียของโรงงาน OEM

   1. มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าผลิตเอง

   2. หากใช้สูตรกลาง หรือสูตรที่โรงงานมี สินค้าและคุณภาพอาจจะไม่แตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ มากนัก

 

   2.ODM (Original Design Manufacturer) คือ ผู้รับจ้างผลิตหรือโรงงานรับจ้างผลิตจะมีความสามารถทั้งการผลิตและออกแบบสินค้า กล่าวคือ  โรงงานแบบนี้มักจะมีพัฒนาขึ้นมาจากแบบ OEM คือเป็นโรงงานที่มีการทำวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ 


ข้อดีของโรงงาน ODM
   
   1. ไม่ต้องออกแบบเอง สามารถขายได้เลย เหมาะกับผู้เริ่มต้นทำแบรนด์

   2. การเลือกออกแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะจะได้แบรนด์สินค้าที่ไม่ซ้ำใคร

   3. ช่วยลดต้นทุนการผลิตต่ำ สามารถย้ายฐานการผลิตไปประเทศที่ต้นทุนต่ำกว่าได้ตลอด

   4. เจ้าของแบรนด์ไม่จำเป็นต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง

   5. มีผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทางการผลิต และการออกแบบคอยดูแลอย่างใกล้ชิด

ข้อเสียของโรงงาน ODM

   มีต้นทุนและค่าใช้จ่ายการผลิตที่สูงกว่า โรงงานประเภท OEM เพราะมีเรื่องการออกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย


นอกจาก OEM, ODM แล้ว ยังมีอีกหนึ่งอย่างคือ OBM (Original Brand Manufacturer) นั่นเอง

   3. OBM (Original Brand Manufacturer) คือ โรงงานการผลิตภายใต้รูปแบบและตราสินค้าของตนเอง เหมาะกับแบรนด์ที่มีความมั่นคง และเป็นโรงงานที่พัฒนาได้เต็มที่ เพื่อผลิตสินค้าและจำหน่ายในปริมาณที่มาก โดยมุ่งเน้นผลิตแต่สินค้าที่อยู่ภายใต้แบรนด์ของตัวเองแต่เพียงเท่านั้น 

ข้อดีของโรงงาน OBM

   1. มีโรงงานเป็นของตนเอง สามารถผลิตได้ในจำนวนมากๆ ช่วยลดต้นทุนในการผลิตไปได้มาก

   2. สามารถปรับกลยุทธ์ในการผลิต เมื่อไหร่ก็ได้

ข้อเสียของโรงงาน OBM

   1. ต้องผลิต ออกแบบ และทำทุกอย่างเอง โดยไม่มีผู้ให้คำปรึกษาในการผลิต

   2. ส่วนการย้ายฐานการผลิตยาก

   3. ต้องใช้ต้นทุนสูงในการสร้างโรงงาน

   4. บริษัทต้องจ้างแรงงานจำนวนมากเพื่อดำเนินการผลิตสินค้า

ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างของ OEM, OBM และ ODM

   สำหรับผู้บริโภคแล้ว สินค้าที่มาจากโรงงานทั้งแบบ OEM, ODM และ OBM อาจจะมองไม่เห็นความต่างกันมากนัก แต่สำหรับผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์นั้น การเลือกประเภทโรงงานสำหรับผลิตสินค้ามีความสำคัญค่อนข้างมาก หากเลือกผิดส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจอย่างแน่นอน ดังนั้นการทำความเข้าใจการผลิตในแต่ละแบบให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อนจะเลือกใช้บริการจ้างผลิต การทำความเข้าใจ รู้จักความแตกต่างจะช่วยให้เกิดการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเพื่อให้ตรงตามเป้าหมายทางธุรกิจนั้น ๆ เมื่อเลือกได้แล้วว่าจะใช้บริการจ้างผลิตประเภทไหน สิ่งที่ควรพิจาณาต่อไปคือตัวตนของบริษัทรับจ้างผลิตนั้นๆ

 

   ตัวอย่างสินค้าของ OEM และ ODM เช่น ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ได้แก่ ชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ รถยนต์ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีสินค้าที่ใกล้ตัวเรา เช่น สินค้าแฟชั่น โปรแกรมซอฟต์แวร์ ผลิตภัณฑ์อาหารลดน้ำหนัก เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สำหรับสปา ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมบำรุงร่างกาย ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม และหนังศรีษะ ผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปาก ผลิตภัณฑ์สำหรับเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์อาหาร เป็นต้น ส่วนตัวอย่างสินค้าประเภท OBM เช่น เครื่องฟอกอากาศยี่ห้อ Z มีโรงงานผลิตเอง มีการซื้อเครื่องจักร จ้างคนงาน พนักงาน ทั้งหมด โดยออกค่าใช้จ่ายเอง และทั้งหมด ก็ทำตลาดภายใต้แบรนด์ Z เป็นต้น

 

บทความนี้จะใช้คำว่า OEM หมายรวมถึงการจ้างผลิตทั้งที่รับจ้างผลิตเพียงอย่างเดียว และที่มีการออกแบบร่วมด้วย

คุณสมบัติโดยทั่วไปของโรงงาน OEM ที่ลูกค้ามองหาเป็นอันดับต้น  ๆ ได้แก่

   1. มีฐานะทางการเงินที่ดี เพื่อความมั่นใจของผู้ใช้บริการว่าจะไม่มีปัญหาระหว่างดำเนินการผลิต เช่นเมื่อมีปัญหากับอุปกรณ์หรืออะไหล่ชำรุดอาจจะต้องมีการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอะไหล่ถ้าโรงงานที่ฐานะทางการเงินไม่ดี อาจจะมีผลทำให้การผลิตสินค้าจะต้องเลื่อนเวลาออกไปเกินเวลาจำเป็น

   2. สามารถผลิตสินค้าตรงตามความต้องการของลูกค้า

   3. มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในตลาดสินค้านั้น  ๆ โรงงานรับจ้างผลิตที่มีชื่อเสียงในตลาดสินค้านั้น ๆ เป็นการรับรองถึงคุณภาพของสินค้าที่ผลิตออกมา

   4. มีความสามารถในการผลิตสินค้าตามความต้องการได้อย่างไม่จำกัด บางครั้ง บางโอกาสเราอาจจะต้องการสินค้าปริมาณมาก ดังนั้นโรงงานรับจ้างผลิตควรสามารถรับรองปริมาณที่เราต้องการได้

   5 มีความยืดหยุ่นและสามารถตอบสนองต่อความผันผวนของตลาดได้ดี

   6. สามารถขนส่งสินค้าได้โดยตรง

   7. มีสิ่งอำนวยความสะดวกและการจัดการที่ดี

   8. มาตรฐานคุณภาพการผลิตสอดคล้องกับ ISO-certified


ข้อดีของการใช้บริการจ้างผลิต

   1. ประหยัดเวลา การใช้บริการจ้างผลิต ทำให้มีเวลาเหลือจากส่วนที่ต้องผลิตสินค้าเองเหลือ สามารถที่จะนำไปใช้ในการทำการตลาด หรืออื่น ๆได้

   2. ลดต้นทุน งบไม่บานปลาย เพราะ OEM มีพร้อมในเรื่องของการผลิตสินค้า ทำให้คนที่ริเริ่มอยากมีแบรนด์เป็นของตนเองไม่จำเป็นต้องลงทุนสำหรับเครื่องจักรและแรงงาน ทั้งยังไม่ต้องกังวลการสูญเสียในการผลิตสินค้าเนื่องจากการริเริ่มผลิตครั้งแรก นอกจากนี้ ทำให้เราสามารถคำนวณต้นทุนสินค้าต่อชิ้นต่อล็อตได้ทันที

   3. ช่วยพัฒนาสูตรสำหรับสินค้า ในกรณีที่เราใช้บริการ ODM บริษัทมีสูตรการผลิตสินค้าที่หลากหลาย หรือสามารถร่วมกับบริษัทในการพัฒนาสินค้านั้น ๆ

   4. การบรรจุภัณฑ์ จากคำกล่าวที่ว่า Packaging เป็นรูปลักษณ์ภายนอกที่ช่วยสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าทำนองเดียวกัน รูปแบบบรรจุภัณฑ์ของสินค้า ซึ่งนั่นเป็นหนทางแรกของการ “ตัดสินใจซื้อ” ดังนั้นการใช้บริษัท OEM ก็สามารถให้ทีมงานออกแบบผลิตภัณฑ์ พร้อมโลโก้สินค้าให้กับผู้ประกอบการได้ เพียงแค่แจ้งความต้องการให้ทราบเท่านั้น

   5. ช่วยให้มีสินค้าออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วและปริมาณมากพอ

   6. ช่วยเรื่องขอใบอนุญาต บริษัท OEM สามารถให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องใบอนุญาตต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อย. หรือ มอก. เพราะเป็นสิ่งที่บริษัท OEM จะต้องยื่นเรื่องก่อนเริ่มทำการผลิต 

   7. สามารถช่วยเหลือเรื่องการตลาด โดยบริษัท OEM สามารถช่วยให้คำปรึกษาเรื่องการตลาดได้ เพราะหากสินค้าของผู้ประกอบการขายดี ก็มีการผลิตเพิ่ม ทำให้ยอดผลิตของบริษัท OEM ก็จะดีขึ้นไป

   ข้อเสียของการจ้างผลิต คือมีการลอกเลียนแบบสินค้าได้ง่าย ทำให้สินค้าไม่ต่างจากสินค้าอื่นๆ ในท้องตลาดเนื่องจากผลิตจากต้นแบบเดียวกัน (กรณีที่ไม่ใช้การออกแบบเฉพาะ) และไม่สามารถติดตามควบคุมทุกขั้นตอนของการผลิตด้วยตัวเอง

เทคนิคการเลือกโรงงานสำหรับการจ้างผลิตสินค้า

   ในการจ้างผลิตสินค้า โรงงานรับจ้างผลิตหรือ OEM เป็นส่วนสำคัญยิ่งที่ควรจะต้องคำนึงถึงอย่างมาก การเลือกโรงงาน OEM จึงควรพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน อย่างแรกมีที่อยู่ชัดเจน มีรีวิวเยี่ยม ได้รับการรับรองอย่างมีมาตรฐาน การให้บริการดีเยี่ยม สะดวกคล่องตัว ซึ่งมีหลาย ๆ บทความที่ได้เสนอแนะเทคนิคการเลือกโรงงาน OEM ไว้ดังนี้

 

จากบทความการเลือกลักษณะโรงงานรับผลิตสบู่ที่มีคุณภาพ ได้เสนอแนะให้พิจารณาการเลือกโรงงาน OEM ไว้ดังนี้

   1.โรงงานรับผลิตสบู่จะต้องมีที่อยู่ชัดเจน  ติดต่อได้ทั้งทางโทรศัพท์ มีแหล่งที่ตั้งเรียบร้อย ก็เป็นที่ยืนยันอีกส่วนหนึ่งว่าจะเป็นโรงงานรับผลิตที่มีมาตรฐาน สามารถให้บริการหลังการขายได้ เพราะบางครั้งเมื่อมีปัญหา หรือต้องการผลิตแบบเดิมเพิ่มจะได้ติดต่อได้สะดวก

   2. โรงงานรับผลิตที่ได้รับการบอกต่อ หากจะเลือกโรงงานรับผลิตที่มีคุณภาพ ลองดูรีวิวการใช้บริการจากเจ้าอื่น ก็จะทำให้เห็นมุมมองที่แท้จริงก่อนเลือกใช้บริการ ลองสังเกตการรีวิว อาจจะมีอยู่ในเว็บไซต์หรือหากมีเพื่อนพ้องในวงการก็ลองถามดูว่าโรงงานเจ้านี้เป็นอย่างไรบ้าง บริการดีหรือเปล่า มีมาตรฐานอย่างที่กล่าวโฆษณาไว้หรือเปล่า

   3.โรงงานรับผลิตที่ได้รับการรับรอง การรับรองมาตรฐานจะเป็นเครื่องการันตีส่วนหนึ่งถึงความมีคุณภาพของโรงงาน ประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่น่าเชื่อถือ 

   4.โรงงานรับผลิตที่ให้บริการคล่องแคล่ว นั่นคือการให้บริการของโรงงานที่มีความมาตรฐานทั้งในเรื่องของการบริหารจัดการ การติดต่อประสานงานระยะเวลาเดือนแรก ต้องมีการเพิ่มการสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง การให้บริการที่รวดเร็วและชัดเจนจะทำให้แม่ค้าสะดวกสบายขนาดไหน เรียกว่ารับคำสั่งซื้อจากลูกค้ามา ส่งต่อก็ได้รับการบริการกลับมาเลย

   โดยสรุปบทความนี้เลือกโรงงานที่มีคุณภาพโดยดูจากอย่างแรกเลยมีที่อยู่ชัดเจน มีรีวิวเยี่ยม ได้รับการรับรองอย่างมีมาตรฐาน การให้บริการดีเยี่ยม สะดวกคล่องตัวให้กับผู้รับบริการ

เทคนิคการเลือกโรงงาน OEM สำหรับการจ้างผลิตสินค้าควรคำนึงถึง

   1. โรงงาน OEM นั้นจะต้องมีที่ตั้งที่ชัดเจน ติดต่อได้ทั้งทางโทรศัพท์ และหลาย ๆ ช่องทาง หรืออาจจะรียกได้ว่าเป็นโรงงานที่มีตัวตน ตรวจสอบได้

   2. โรงงาน OEM ที่มีมาตรฐาน มีใบรับรองคุณภาพและมาตรฐาน โรงงานผู้ผลิตมี GMP หรือ ใบรับรองหลัก ๆ ที่ควรมี เช่น GMP, ISO, Halal และอื่น ๆ ตรงตามสินค้าที่ต้องผลิต  การมีใบรับรองต่าง ๆ จะช่วยบอกคุณภาพและความ น่าเชื่อถือของโรงงานและการผลิตสินค้า  ทำให้ผู้สั่งผลิตไว้วางใจว่าได้สินค้ามีคุณภาพ เราอาจจะต้องขอทางโรงงานว่าขอดูใบรับรองโรงงานอุตสาหกรรมด้วย

   3. โรงงาน OEM ที่ประสบการณ์  มีความเชี่ยวชาญในการผลิต โรงงานแต่แห่งจะมีความเชี่ยวชาญที่ต่างกัน เราจะต้องเลือกโรงงานที่เชี่ยวชาญผลิตสินค้าที่ต้องการ

   4. โรงงาน OEM มีวัตถุดิบหลากหลาย สำหรับสินค้าบางอย่างที่มีวัตถุหลายชนิดในการนำผลิต โรงงานที่มีการเสนอวัตถุดิบได้หลากหลายเป็นที่น่าสนใจ อย่างเช่นโรงงานผลิตชา อาจจะมีใบชาหลายชนิดให้เลือกใช้ หรือมีรูปแบบชาอื่น ๆ ให้เลือก   
  
   5. โรงงาน OEM มีบริการให้คำปรึกษา โดยสามารถคำปรึกษาเรื่องการสร้างแบรนด์ การตลาด คำแนะนำตั้งแต่ก่อนผลิตจนถึงการขาย

   6. โรงงาน OEM ที่เราสามารถกำหนดต้นทุนได้เอง ผลิตตามงบประมาณ ผู้ประกอบการแต่ละรายมีทุนไม่เท่ากัน ดังนั้นโรงงาน OEM ที่ดีควรมีบริการผลิตตามงบประมาณของผู้ประกอบการ โดยผู้ว่าจ้างกำหนดต้นทุนเองได้ เพื่อจำกัดวงเงินลงทุนไม่ให้บานปลายโดยที่ยังสามารถทำธุรกิจได้อย่างคล่องตัว

   7. โรงงาน OEM ที่สามารถคิดค้น วิจัยสูตรเป็นสูตรเฉพาะของแบรนด์ได้      

   8. โรงงาน OEM ที่ให้บริการครบวงจร หรือเรียกว่า One stop service

   9. โรงงาน OEM ที่มีกำหนดการและตารางเวลาผลิต จัดส่ง ชัดเจน ตรงเวลา

   10. โรงงาน OEM ที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถหาได้ทั่วไป กรณีที่สินค้าเป็นที่ต้องการของตลาดสูง มีการสั่งผลิตเพิ่มการใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถหาได้ทั่วไปจะช่วยให้มีสินค้าออกสู่ตลาดได้เร็วกว่าการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีความพิเศษที่หายาก

   11. โรงงาน OEM มีความยืดหยุ่น  

 

นอกจากเทคนิคในการเลือกใช้บริการโรงงาน OEM แล้ว สิ่งที่ผู้จ้างผลิตไม่ควรละเลยหรือเจ้าของแบรนด์ต้องรู้

   1. การพัฒนาสูตร โรงงาน OEM ประเภทที่รับผลิตสินค้าจำพวกครีม หรือ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนั้น จะมีสูตรที่เขารับผลิตเยอะแยะมากมาย ดังนั้นทางผู้ผลิต OEM ก็จะมีสูตรแนะนำทางพ่อค้าแม่ค้าได้ว่าอยากจะได้สูตรสำหรับไปใช้อะไรหรือเราอยากจะปรับปรุงสูตรขึ้นมาเฉพาะตัวก็สามารถทำได้ โดยการแจ้งสูตรการผลิตให้กับโรงงาน แต่ข้อควรระวังการทำสินค้าประเภทครีมหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสิ่งที่ต้องระวังคือต้องมีใบอนุญาตจาก อย. ด้วยปัจจุบันการแข่งขันขายของในตลาดนั้นสูงมาก ๆ ใคร ๆก็มีสูตรเป็นของตัวเอง ทางโรงงาน OEM ก็จะมีไอเดียหรือเทคนิคที่เคยทำสำเร็จและไม่สำเร็จมาบอกเล่าให้ผู้ที่ต้องการจ้างผลิตนั้นได้นำไปพิจารณาว่าควรจะดำเนินการแผนการไหนดี


   2. การออกแบบ Packaging อย่างที่กล่าวไว้ โรงงาน OEM มีข้อมูลเยอะแยะมากมายที่สามารถแชร์ข้อมูลให้กับผู้ผลิตได้รับรู้ เรื่อง packaging ก็เป็นสิ่งที่ทางบริษัท OEM จะสามารถแนะนำเราได้ว่าจะทำอย่างไรให้ผลิตภัณฑ์ของเรานั้นมีหน้าตาที่โดดเด่นกว่าเจ้าอื่น หรือการออกแบบ แบบไหนที่ไม่ตอบโจทย์ลูกค้า ให้คำปรึกษาการตลาด

   3. ไม่ต้องลงทุนเองทั้งหมด ถือเป็นข้อดีที่สุด ถึงแม้การจ้างโรงงาน OEM ผลิตจะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างเยอะ แต่ข้อดีคือไม่ต้องลงทุนทำโรงงานขึ้นมาเอง เราสามารถใช้โรงงาน OEM ในการทดสอบระบบ และรายละเอียดของสินค้าที่ต้องการผลิตขึ้นมาได้


สิ่งที่ที่ผู้ว่าจ้างต้องระวัง

            1. สัญญาจ้างงาน จะต้องเช็คให้มั่นใจว่าเรามีการทำสัญญาจ้างผลิตอย่างชัดเจน เพราะเคยมีเหตุการณ์เกิดขึ้นลักษณะที่โรงงาน OEM นำผลิตภัณฑ์ที่โรงงานเสนอขายลูกค้าแล้วไปผลิตซ้ำและจำหน่ายให้แบรนด์ของตัวเองทำให้เกิดความเสียหายได้

            2. การโดนลอกเลียนแบบสูตร บางครั้งสูตรที่ทางเราคิดค้นขึ้นมาจะต้องมีการจดลิขสิทธิ์เป็นความลับห้ามเผยแพร่เด็ดขาด เพราะบางครั้งบริษัทเมื่อเห็นผลิตภัณฑ์ของเราขายดี ก็อาจจะนำไปลอกสูตรและขายให้กับคู่แข่งก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นต้องระวังเรื่องความลับนี้ให้ดี

            3. การใช้ส่วนผสมที่ต่ำกว่ามาตรฐาน บางครั้งผู้ผลิตอาจจะเห็นว่ามีความคล้ายกัน จึงนำมาใช้เป็นส่วนผสมแทนจากที่เรากำหนดไว้ ดังนั้นอาจจะต้องมีการเข้าไปตรวจสอบหรือสุ่มเช็คกับโรงงาน OEM เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการลดต้นทุนการผลิตเพื่อหวังเอากำไร

            4. ระวังการใช้ อย.ไม่ตรงตามที่ร้องขอ การขอใบ อย.นั้นจะต้องใช้ระยะเวลาประมาณนึง เนื่องจากในแต่ละวันก็จะมีคนขอใบรับรองดังกล่าวจำนวนมาก แต่ก็มีบางโรงงานที่ลักไก่นำใบ อย. ที่ออกให้โรงงานไปใส่ในผลิตภัณฑ์ ดังนั้นหากโดนตรวจสอบก็จะเกิดปัญหาภายหลังได้ ดังนั้นควรจะขอ อย.ให้ถูกต้อง และตรวจสอบว่าโรงงานใส่ อย. ของสินค้าที่ถูกต้อง

            5. ต้องทราบทุกกระบวนการผลิต ผู้ว่าจ้างควรจะเข้าไปตรวจสอบโรงงานเองว่าที่เราจ้างผลิตไปนั้น ผลิตได้มาตรฐานตามที่สัญญากันไว้หรือไม่ เพราะหากไม่ได้มาตรฐานการผลิต ผลิตภัณฑ์อันนั้นก็อาจจะมีปัญหาได้

 

            ดังนั้นการผลิตแบบ OEM ผู้ว่าจ้างจะต้องใส่ใจรายละเอียดให้อย่างถี่ถ้วนมากๆ เพื่อป้องกันความเสียหายในที่จะเกิดภายหลัง เพราะหากมีการฟ้องร้องรับรองว่าไม่คุ้มอย่างแน่นอน

ขั้นตอนโดยทั่วไปในการสั่งผลิตสินค้ากับโรงงาน OEM

   1. Product Concept

เข้าร่วมพูดคุยรายระเอียดกับทีมนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ ฝ่ายการตลาด และเจ้าหน้าที่ผู้วิเคราะห์แนวโน้มทางการตลาด เพื่อให้เห็นถึงทิศทางในตลาดปัจจุบัน กรณีเลือกโรงงาน OEM ที่มีทีมครบ

   2. Formulation Development

การพัฒนาสูตรใหม่หรือสูตรที่ผู้จ้างมีอยู่แล้ว พร้อมขึ้นตัวอย่างเพื่อให้เจ้าของแบรนด์ได้ทดลองหรือเห็นลักษณะสินค้าก่อนการผลิตจริง

   3. Signing Agreement

เมื่อตกลงข้อที่ 4 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เช่นได้สูตรที่ต้องการแล้ว จากนั้นทำสัญญาการสั่งผลิต เพื่อเป็นการเริ่มดำเนินงานการเปิดผลิตล๊อตแรก

   4. FDA Regulatory Process

ยื่นสูตรเข้าดำเนินการขอ อย. และการรับรองต่างๆ จากหน่วยงานต่างๆที่ ควบคุมดูแลโรงงาน กรณีที่สินค้านั้นจำเป็นจะต้องได้รับการรับตามกฏหมาย เราจะต้องยื่นเอกสารการอนุมัติผลิตสินค้านั้นๆ

   5. Logo & Packaging Design

ออกแบบโลโก้ แพ็กเกจจิ้ง บรรจุภัณฑ์ และทำการผลิตเพื่อเตรียมป้อนเข้าสู่ไลน์

   6. Manufacturing Process

ทำการผลิตตามมาตราฐานที่ อย. กำหนดทุกขั้นตอน

   7. Quality Control

ตรวจสอบคุณภาพของสินค้าก่อนส่งมอบให้ถึงมือเจ้าของผลิตภัณฑ์ เพื่อความไม่ผิดพลาด

   8. Delivery

ส่งมอบสินค้าให้ถึงมือเจ้าของแบรนด์

   9. Marketing Support

   ส่งเสริมการขายด้วยฝ่ายการตลาดทั้งในและต่างประเทศ พร้อมทั้งยังช่วยดูแลลูกค้า และเทรนเจ้าของแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จ

บริษัท เพียวฟู้ดส์ ผู้รับจ้างผลิต OEM สลัด มายองเนส ซอส และน้ำจิ้ม




   ธุรกิจอาหารเป็นธุรกิจที่มีสินค้าหลากหลาย ซึ่งสินค้าที่มีในท้องตลาดจะครอบคลุมกับความต้องของผู้บริโภค ดังนั้นกลุ่มผู้บริโภคจึงมีอยู่อย่างกว้างขวาง และมีหลายประเภท โดยส่วนมากที่ได้ยินกันบ่อย ๆ คือธุรกิจอาหารเสริมที่มีการสร้างแบรนด์ต่าง ๆ มากมาย แต่ทราบหรือไม่ว่าธุรกิจอาหารจำพวกน้ำสลัด น้ำจิ้ม มายองเนส ฯลฯ ก็เป็นที่สนใจ สำหรับคนที่อยากมีแบรนด์ด้านอาหารจำพวกสลัด ซอสคาว ซอสหวาน มายองเนส ไส้ขนมเบเกอรี่ ไซรัป และกำลังมองโรงงาน OEM สำหรับการจ้างผลิตทางด้านนี้ บริษัทเพียวฟู้ดส์ ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนํา เชี่ยวชาญด้านการผลิต สลัด ซอสคาว ซอสหวาน มายองเนส ไส้ขนมเบเกอรี่ ไซรัป รับเป็นโรงงาน OEM


มารู้จักบริษัทเพียวฟู้ดส์

   บริษัทเพียวฟู้ดส์ เป็นหนึ่งในผู้นำโรงงานด้านนวัตกรรมการผลิตสลัด ซอสคาว ซอสหวาน มายองเนส ไส้ขนมเบเกอรี่ ไซรัป ครบวงจร แบบ One-Stop Service มีนักวิทยาศาสตร์การอาหารและนักวิจัยผลิตภัณฑ์อาหาร ที่มีประสบการณ์ยาวนานมากกว่า 26 ปี เรามุ่งมั่นคิดค้น วิจัย พัฒนาสูตรหลากหลายรูปแบบอยู่เสมอคือผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมอาหาร และพร้อมด้วยคุณภาพทั้งในเรื่องของสินค้า และบริการต่าง ๆ เป็นบริษัทที่เพียบพร้อมที่จะเป็นโรงงาน OEM และ ODM สำหรับผลิต สลัด มายองเนส ซอส และน้ำจิ้ม เพื่อตอบสนองความต้องการของเจ้าของแบรนด์ที่สามารถนำไปต่อยอดธุรกิจและกลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้นในปัจจุบัน

ทำไมจะต้องเลือกบริษัทเพียวฟู้ดส์ สำหรับการผลิตอาหารจำพวกสลัด ซอส มายองเนส และน้ำจิ้ม ป็นโรงงาน OEM ที่ผู้ต้องการสร้างแบรนด์อาหารด้านนี้เลือกใช้บริการ เพราะบริษัทเพียวฟู้ดส์ มีคุณสมบัติตามเทคนิคการเลือกใช้บริการโรงงาน OEM กล่าวคือ

   1. บริษัทเพียวฟู้ดส์ มีที่ตั้งของโรงงานที่แน่นอน มีโทรศัพท์ และอีเมล์ในการติดต่อประสานงาน

   2. ได้การรับรองคุณภาพและมาตรฐานดังนี้ HACCP, GMP, BRC และ Halal บ่งชี้ความมีคุณภาพและความน่าเชื่อถือของโรงงานและการผลิตสินค้า

   3. มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ โรงงานของบริษัทมีการก่อตั้งมา 26 ปี ทำให้มีความเชี่ยวชาญในการผลิต

   4. มีศูนย์วิจัยและพัฒนาสินค้า (RD center) ที่ประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์การอาหารและนักวิจัยผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อรองรับ การพัฒนาสินค้าให้ตรงความต้องการของลูกค้า

         - Pilot Plant Scale สําหรับการทดลองผลิต batch เล็ก เพื่อเก็บค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ก่อนผลิต batch จริง (เพิ่มความแม่นยํา ในการผลิตและคุณภาพสินค้า)  

         - Shelf life Study สำหรับประเมินอายุการเก็บสินค้า ด้วยระบบ shelf life evaluation 

         - Sensory Evaluation ประเมินคุณลักษณะทางประสาทสัมผัส

         - การวิเคราะห์ทางเคมี (Automatic refractometer, Auto-titration for acid, pH meter, Hunter lab, etc)

         - การวิเคราะห์ทางกายภาพ (การวิเคราะห์ค่าความหนืด โดย Bostwick และ Brook Field, การวิเคราะห์ค่าสี โดย Hunter Lab และ Pantone)

         - การวิเคราะห์ด้าน microbiological

   5. มีระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ ควบคุมโดยระบบคอมพิวเตอร์


ซึ่งบริษัทจะมีการควบคุมการผลิตทุกขั้นตอนให้มีคุณภาพ โดยสภาวะตลาดปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูงบริษัทกําหนด กลยุทธ์การแข่งขันโดยใช้ Key of Success คือ ราคา คุณภาพ และการส่งมอบ เพื่อตอบเสนองความ ต้องการสูงสุดให้กับลูกค้า

   1. ราคา (Price) การกําหนดราคาที่ต่ำเพื่อการแข่งขันนั้นจะต้องมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำด้วย ตัวแปรสําคัญคือราคาวัตถุดิบ ค่าแรงงาน และค่าขนส่งสินค้า บริษัทได้มองหาจากแหล่งต่างๆ ตลอดเวลารวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อลดต้นทุน

   2. คุณภาพ (Quality) บริษัทมองเห็นความสําคัญในเรื่องคุณภาพ และเป็นการเพิ่มโอกาสใน การแข่งขัน จึงได้นําระบบบริหารคุณภาพมาใช้กับองค์กร ระบบบริหารคุณภาพเป็นส่วนสําคัญในการควบคุมคุณภาพการดําเนินงาน และการผลิตสินค้า มีการตรวจสอบในทุกขั้นตอนการผลิต และสามารถสอบกลับได้ บริษัทจึงมั่นใจในสินค้าที่ผลิตออกมา และรับประกันความพึงพอใจของลูกค้า ผู้ผลิตสินค้าจะได้รับการชี้แจงจากบริษัทในเรื่องนโยบายคุณภาพ และข้อกําหนด ในการดําเนินการให้เป็นแนวทางเดียวกัน บริษัทจะไม่ล้วงลึกในกระบวนการการจัดการภายในของลูกค้าแต่จะคอยให้ คําแนะนําเรื่องคุณภาพ ความถูกต้องของงานที่ผลิตให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า รวมถึงการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากจุดเริ่มต้นกระบวนการผลิตจนถึงผลิตสินค้าสําเร็จทุกขั้นตอนการดําเนินการ จะมีการตรวจสอบและบันทึกตามระบบบริหารคุณภาพ สร้างความมั่นใจได้ว่า สินค้าที่ผลิตนั้นมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับจากลูกค้าและผู้ผลิตสินค้าทั่วไป

   3. การส่งมอบ (Delivery) บริษัทให้ความสําคัญเป็นอย่างมากในการส่งมอบสินค้า ลูกค้าจะต้องได้รับสินค้าที่ถูกต้องตรงตามความต้องการ และได้รับสินค้าตรงตามที่กําหนดไว้ ประสบการณ์เกี่ยวกับงานโครงการต่างๆ การวางแผนและการเตรียมข้อมูลการ ผลิตเป็นเรื่องสําคัญที่จะต้องรู้ถึงการดําเนินการในแต่ละขั้นตอน บริษัทได้นําระบบห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) มาใช้ในการบริหารการจัดการ เป็นการเพิ่มศักยภาพองค์กรและเสริม เขี้ยวเล็บในการแข่งขัน

การควบคุมคุณภาพการผลิต ในขั้นตอนการผลิตสินค้า บริษัทจะมีเจ้าหน้าที่เข้าไปดูแลตรวจสอบในกระบวนการผลิต ทุกขั้นตอนที่กําหนดไว้ในระบบบริหารคุณภาพ เมื่อพบข้อบกพร่องหรือไม่เป็นไปตามข้อกําหนด บริษัทจะแจ้งให้ผู้ผลิต (Sub-Contractor) หรือผู้จัดจําหน่ายสินค้า (Supplier) ทราบเพื่อดําเนินการ แก้ไขทันที (ขั้นตอนระบบบริหารคุณภาพ) ตามความเหมาะสมก่อนการจัดส่งสินค้า และกําหนดให้มีการตรวจสอบวัสดุทุกครั้งเมื่อผู้จําหน่ายจัดส่งวัสดุถึงโรงงานผู้ผลิต เจ้าหน้าที่ หรือหัวหน้างาน ที่รับผิดชอบการตรวจสอบสินค้าจะต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องของสินค้าที่จัดส่งทุกรายการ

บริษัทเพียวฟู้ดส์เราเป็นผู้นำด้านบริการรับผลิต สลัด ซอสคาว ซอสหวาน มายองเนส ไส้ขนมเบเกอรี่ ไซรัป โดยโรงงานผลิตมาตรฐานสากล มั่นใจได้ 100% และเป็นบริษัทผลิตสลัด ซอสคาว ซอสหวาน มายองเนส ไส้ขนมเบเกอรี่ ไซรัป ที่พร้อมนำเสนอบริการเหนือระดับ สำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจผลิตภัณฑ์ สลัด ซอส มายองเนส และน้ำจิ้ม สร้างแบรนด์ของตัวเอง ด้วยโรงงานผลิตของบริษัทดำเนินการและควบคุมคุณภาพภายใต้มาตรฐานการผลิตที่เป็นนวัตกรรมของเรา พร้อมด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญดูแลแนะนำให้คำปรึกษาอย่างเป็นมิตร ร่วมคิดค้นสูตรและสร้างผลิตภัณฑ์ในแบบที่คุณต้องการครบวงจรในที่เดียว

   ดังนั้นบริษัทเพียวฟู้ดส์ เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะเป็นโรงงาน OEM และ ODM สำหรับการสร้างแบรนด์ สลัด มายองเนส ซอส และน้ำจิ้ม เพื่อตอบสนองความต้องการของเจ้าของแบรนด์ที่สามารถนำไปต่อยอดธุรกิจและกลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้นในปัจจุบัน

 

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้